โรงเรียนอธิปไตยทางอาหาร ปี 2
วัตถุประสงค์
- เพื่อสร้างผู้นำการเปลี่ยนแปลงรุ่นใหม่ ผ่านกระบวนการเรียนรู้ หลักการ แนวคิด วิเคราะห์ระบบอาหาร และสร้างปฏิบัติการเพื่อทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในระดับครัวเรือน ชุมชน จนถึงระดับประเทศ
- สร้างเครือข่ายสนับสนุนประชาธิปไตยทางอาหารโดยเชื่อมโยงผู้เข้าร่วมจากหลากหลายความคิด มุมมอง และประสบการณ์ ซึ่งจะทำให้ผู้เข้าร่วมสามารถเรียนรู้ระหว่างกันและกัน
- พื้นที่แลกเปลี่ยนและหนุนเสริมขีดความสามารถผู้ประกอบการรุ่นใหม่ในการพัฒนานวัตกรรมและการสื่อสารทางสังคม
กรอบเนื้อหา
หลักสูตรที่ 1 ผักยืนต้น กับความมั่นคงทางอาหาร (15-17 พฤศจิกายน 2562)
เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความหลากหลายทางชีวภาพ เน้นผักยืนต้น ผลไม้พื้นเมือง ระบบอาหาร และสามารถนำเนื้อหาความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องนี้ไปสู่ปฏิบัติการในระดับชุมชนหรือระดับชาติได้ โดยมีการถ่ายทอดสดผ่านโซเชียลมีเดียเพื่อ ขยายความรู้ไปสู่ผู้ที่สนใจเพิ่มขึ้นด้วย
ขอบเขตเนื้อหาความรู้-ผักยืนต้นคืออะไร ความสำคัญ การผลิตที่ยั่งยืน permaculture การใช้ประโยชน์ ปรุงอาหาร และคุณค่าทางโภชนาการ ผักยืนต้นเป็นเครื่องมือของการฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพและฐานระบบเกษตรนิเวศ ระบบการเกษตรผลิตผักยืนต้นอย่างยืนต้น แล้วมีการนำไปใช้ประโยชน์ในสูตรอาหารปัจจุบัน
หลักสูตรที่ 2 เลือกผักผลไม้อย่างไรให้ปลอดภัย (22-24 พฤศจิกายน 2562)
เพื่อทราบคุณค่าของผักผลไม้ที่หลากหลาย สถานการณ์ ปัญหา เกี่ยวกับความไม่ปลอดภัยของผักผลไม้ และเข้าใจขั้นตอน กระบวนการ แนวทางการขอรับรองความปลอดภัยในผักผลไม้รูปแบบต่างๆ ตามมาตรฐานที่มีในประเทศและต่างประเทศ ผู้บริโภคต้องเข้าใจกระบวนการผลิตของเกษตรกรอย่างแท้จริง
ขอบเขตเนื้อหาความรู้-ข้อเท็จจริงความไม่ปลอดภัยผักผลไม้ กระบวนการทดสอบความปลอดภัยของผักผลไม้ เข้าใจระบบรับรอง กระบวนการ รู้จักและวิเคราะห์ระบบมาตรฐานการรับรองผลผลิตความปลอดภัยผักและผลไม้แบบต่างๆ PGS, GAP, มกท, Q, ออร์แกนิคไทยแลนด์ , iForm และ ตปท. วิเคราะห์ SWOT ข้อดี ข้ออ่อน ปัญหาและข้อท้าทายการขอรับรองมาตรฐาน นำไปสุ่การจัดการเฉพาะตนได้
กลุ่มเป้าหมาย
ประกอบด้วยกลุ่มคนที่หลากหลาย จำนวนผู้เข้าร่วมทั้งสิ้นประมาณ 30 คน เกิดพลังพลเมืองที่เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงด้านความมั่นคงทางอาหาร
คุณสมบัติของผู้เข้าร่วม
- กรณีที่เป็นผู้นำชุมชนและเกษตรกรในชุมชนท้องถิ่นในเขตพื้นที่ จ.นนทบุรี สามารถสมัครได้โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย
(กรุณาติดต่อผู้ประสานงานโดยตรงเพื่อลงทะเบียน คุณพรพิมล สิงหเสม 02-985 3837) - ผู้สนใจทั่วไปสามารถสมัครได้โดยมีค่าใช้จ่าย 1,000 บาทต่อรายต่อหนึ่งหลักสูตร
- กรณีมาเป็นหมู่คณะสามารถแจ้งความประสงค์ไปยังผู้ประสานงานหลักสูตรได้โดยตรง
สถานที่
สวนชีววิถี
3/12 หมู่ 6 ซอยไทรม้า 22 (บางอ้อ 2) หลังวัดบางนา ถ.รัตนาธิเบศร์
ต.ไทรม้า อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
รายละเอียดสถานที่ https://www.gdpark.asia
วันเวลาที่จัด
- หลักสูตรที่ 1 15-17 พฤศจิกายน 2562
- หลักสูตรที่ 2 22-24 พฤศจิกายน 2562
การเดินทาง
แผนที่ : https://goo.gl/maps/LSXS36s5ctM2 จุดสำคัญ เลยวัดเพลง มุ่งหน้า วัดบางนา เลี้ยวขวาซอยบางรักน้อย 18 (ตามป้ายบอกทาง “สวนชีววิถี”)
- รถไฟฟ้าสายสีม่วง ลงสถานีไทรม้า ออกประตูหมู่บ้านซื่อตรง ต่อมอเตอร์ไซต์รับจ้าง บอกไปสาวนชีววิถี ซอยบางอ้อ 2 ค่ามอเตอร์ไซต์ไม่เกิน 40 บาท
- รถแท๊กซี่
- รถสวนตัว
- รถโดยสารประจำทาง ลงป้ายรถประจำหมู่บ้านซื่อตรง
ติดต่อผู้ประสานงาน/สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
คุณพรพิมล สิงหเสม
สวนชีววิถี 3/12 หมู่ 6 ซอยไทรม้า 22 (บางอ้อ 2) ถ.รัตนาธิเบศร์ ต.ไทรม้า อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
Tel : 02-985 3837-8 Fax : 02 985 3836
Email : pornpimon@biothai.net